วันที่
10 มิ.ย. 2567
หมวดหมู่
Health & Care

ความดันโลหิตสูง (Hypertension)
นพ. ธีวินท์ งามศรีขำ อายุรแพทย์ โรงพยาบาลพัทยาเมโมเรียล

ความดันโลหิตสูง (Hypertension)

หมายถึง ภาวะที่มีการเปลี่ยนแปลงความดันในหลอดเลือดแดงที่สูงขึ้นมากกว่าปกติ ซึ่งอาจจะไม่มีอาการแต่หากปล่อยทิ้งไว้ให้อยู่ในระดับนี้นานๆ อาจทำให้อวัยวะต่างๆในร่างกายเสื่อม เช่น มีโอกาสเป็นโรคเส้นเลือดหัวใจตีบตัน โรคหลอดเลือดสมองตีบตัน / เส้นเลือดสมองแตก ไตวาย เส้นเลือดแดงใหญ่โป่งพอง หากไม่ได้รับการรักษาอย่างเหมาะสม อาจทำให้ผู้ป่วยทุพพลภาพหรือเสียชีวิตได้

อาการ

ภาวะโรคความดันโลหิตสูง เปรียบเหมือนฆาตกรเงียบ หากความดันสูงเล็กน้อยหรือปานกลาง มักไม่มีอาการเตือนให้รู้ตัว แต่สำหรับผู้ที่มีความดันโลหิตสูงมาก อาจมีอาการเหล่านี้ได้ เช่น ปวดศีรษะ เวียนศีรษะ ตาพร่ามัว เลือดกำเดาไหล เหนื่อยง่าย เจ็บหน้าอก ความดันโลหิตที่สูงขึ้นจะทำให้ผนังหลอดเลือดแดงหนาขึ้นและรูเล็กลง ทำให้เลือดไปเลี้ยงอวัยวะต่างๆ ได้น้อยลง หากถูกทำลายอย่างรุนแรง อาจะส่งผลให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้

ชนิดของความดันโลหิตสูง

1. ชนิดที่ไม่ทราบสาเหตุที่ชัดเจน (Essential Hypertension) ส่วนใหญ่เชื่อว่า เกิดจาก กรรมพันธุ์ หรือสิ่งแวดล้อม อายุ มีปัจจัยส่งเสริม อาทิ ภาวะอ้วน เบาหวาน ทานอาหารรสเค็ม ดื่มสุรา สูบบุหรี่ ภาวะเครียด ฯลฯ

2. ชนิดที่ทราบสาเหตุ เป็นโรคความดันโลหิตสูง ซึ่งเป็นผลมาจาก โรคอื่นที่เป็นมาก่อน (Secondary Hypertension) มักจะต้องรักษา โรคที่เป็นสาเหตุ ด้วย เช่น เนื้องอกที่ต่อมหมวกไต ไตวายเรื้อรัง เส้นเลือดแดงที่ไปเลี้ยงไตตีบ หลอดเลือดแดงใหญ่ตีบในส่วนของช่องอก รวมถึงใช้ยาสเตียรอยด์เป็นประจำ

ปัจจัยที่ส่งเสริมให้เกิดโรคความดันโลหิตสูง

ปัจจัยที่ควบคุมไม่ได้

1. กรรมพันธุ์ จากการสำรวจความถี่ในการเกิดโรค พบว่า ผู้ที่มีพ่อแม่เป็นโรคความดันโลหิตสูง มีโอกาสและความเสี่ยงในการเป็นโรคความดันโลหิตสูงได้มากกว่า

2. เพศและอายุ เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของร่างกาย มีข้อมูลบ่งบอกว่า พบในผู้ชายมากกว่าผู้หญิง ในช่วงก่อนอายุ 50 ปี แต่เมื่ออายุเลย 50 ปี ผู้หญิงจะมีโอกาสเกิดโรคความดันโลหิตสูงมากกว่าผู้ชาย เนื่องจากผู้หญิงมีฮอร์โมนเอสโทรเจนลดลง ซึ่งมีผลต่อความยืดหยุ่นของเส้นเลือด ส่วนในผู้ที่มีอายุมากกว่า 60 ปีขึ้นไป พบความดันโลหิตสูงเท่ากันทั้ง 2 เพศ

ปัจจัยที่ควบคุมได้

1. อ้วนหรือมีน้ำหนักเกิน
2. ไขมันในเลือดสูง
3. ดื่มแอลกอฮอล์อย่างหนัก
4. กินเค็มเป็นประจำ
5. ขาดการออกกำลังกาย
6. มีภาวะดื้ออินซูลินหรือเป็นเบาหวาน

การรักษา และปฏิบัติตัว

จุดมุ่งหมายในการรักษาความดันโลหิตสูง เพื่อลดอัตราการเกิดทุพพลภาพและเสียชีวิตของผู้ป่วยที่เกิดจากภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ผู้ป่วยควรจะต้อง ลดน้ำหนัก ในผู้ป่วยที่มีน้ำหนักเกิน หลีกเลี่ยงอาหารรสเค็ม งดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ งดสูบบุหรี่ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ และ รับประทานยา เพื่อควบคุมความดันโลหิต

Reference :

1. ความดันโลหิตสูงคืออะไร
https://xn--12c8b3afcz5g8i.com/knowledge/detail/26/data.html

2. คุณเป็นความดันโลหิตสูงรึเปล่า
https://www.siphhospital.com/.../article/share/hypertension

3. ความดันโลหิตสูง
https://www.moph.go.th/index.php/news/read/1503

4. ถามตอบเกี่ยวกับความดันโลหิตสูง
https://www.moph.go.th/index.php/news/read/276

5. High blood pressure screening
https://www.diabetes.co.uk/.../high-blood-pressure...

ติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม
☎️038 - 488 - 777
ติดต่อ แผนกผู้ป่วยนอก ต่อ 101, 119
ทุกวัน เวลา 08.00 - 16.00 น.

Website : www.pattayamemorial.com
LINE Official : https://bit.ly/2SmVzUK
Facebook : https://bit.ly/2Sy23QT
Email : pmhospital@hotmail.com

บทความสุขภาพ
Blog Thumbnail

สำรวจระบบทางเดินปัสสาวะ: สิ่งที่คุณต้องรู้

ระบบทางเดินปัสสาวะเป็นสาขาพิเศษของการแพทย์ที่เน้นที่ระบบทางเดินปัสสาวะของทั้งผู้ชายและผู้หญิง รวมถึงระบบสืบพันธุ์ของผู้ชายด้วย

อ่านต่อ
Blog Thumbnail

การตรวจสุขภาพสม่ำเสมอสามารถช่วยชีวิตได้อย่างไร

ความสำคัญของการดูแลเชิงป้องกัน: การตรวจสุขภาพสม่ำเสมอสามารถช่วยชีวิตได้อย่างไร

อ่านต่อ
Blog Thumbnail

สำรวจการผ่าตัดและห้องผ่าตัด: สิ่งที่คุณคาดหวังได้ที่โรงพยาบาลพัทยาเมโมเรียล

การผ่าตัดเป็นก้าวสำคัญในเส้นทางสุขภาพของคนคนหนึ่ง และที่โรงพยาบาลพัทยาเมโมเรียล เราเข้าใจอารมณ์ที่มาพร้อมกับการผ่าตัด ตั้งแต่ความกังวลไปจนถึงความโล่งใจ

อ่านต่อ